ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Public Administration Program in Public Administration
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : รป.บ. (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Public Administration (Public Administration)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.P.A. (Public Administration)
ปรัชญา
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560)เป็นหลักสูตรที่เป็นพหุวิทยาการที่มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจอย่างเป็นระบบ โดยใช้สาระวิชาและภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนรู้ในระดับที่เหมาะสม เพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพ รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารจัดการภาครัฐและอื่นๆ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพระดับต้น มีจริยธรรม จรรยาบรรณตามหลักวิชาชีพ และยึดหลักธรรมาภิบาลในการทำงานมีทักษะการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจใช้ฐาน การวิจัยในการทำงานมีความสามารถทางการสื่อสารและการใช้ภาษาสามารถในการวิเคราะห์และตีความสารสนเทศสถิติต่างๆและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆในการทำงานได้ รวมทั้งมีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานในองค์การได้ สามารถปรับตัวอยู่ในสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และอยู่ในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายได้อย่างสร้างสรรค์ โดยเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมและตลาดงานในระดับอาเซียน
วัตถุประสงค์
- มีความรู้ทางด้านวิชาการอย่างเป็นระบบในด้านรัฐประศาสนศาสตร์ในระดับอาเซียนและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์
- มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและเชิงกลยุทธ์ สามารถตัดสินใจและใช้ฐานการวิจัยในการทำงาน
- มีความสามารถทางการสื่อสารและการใช้ภาษาต่างประเทศ
- มีความสามารถในการวิเคราะห์และตีความสารสนเทศ สถิติต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการ
- ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
- มีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานในองค์การได้ และสามารถปรับวิถีชีวิตภายใต้ความขัดแย้งทางค่านิยมสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่มีความหลากหลายรับฟังความเห็นที่แตกต่างและแสดงความคิดเห็นได้อย่างสร้างสรรค์
- มีทักษะจรรยาบรรณทางวิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์
- มีจริยธรรมและธรรมาภิบาลในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม
การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
- เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2562 หมวดที่ 9
- ต้องมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมของหมวดวิชาเฉพาะไม่ต่ำกว่า 2.00 ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
- สอบผ่านเกณฑ์การสอบวัดความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ตามประกาศของมหาวิทยาลัย
- เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ตามประกาศของมหาวิทยาลัย
- นักศึกษาต้องได้รับการทดสอบหรือประเมินสมรรถนะทางภาษาอังกฤษก่อน
- ไม่อยู่ระหว่างการถูกสอบสวนทางวินัยนักศึกษาอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยวินัยนักศึกษา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ นักบริหารหรือเจ้าหน้าที่ระดับต่างๆในองค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ เช่น เจ้าพนักงานปกครอง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ ตำรวจ พนักงานรัฐวิสาหกิจ นักวิชาการ นักวิจัย เป็นต้น
- ภาคเอกชน นักบริหารหรือเจ้าหน้าที่ระดับต่างๆในองค์กรภาคเอกชน เช่น เจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรมนุษย์ ผู้ประสานงานโครงการ นักวิชาการ นักวิจัย เลขานุการบริหาร เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ นักวิเคราะห์ระดับต้น เป็นต้น
- องค์กรอิสระ นักบริหารหรือเจ้าหน้าที่ระดับต่างๆในองค์กรอิสระ เช่น เจ้าพนักงานศาลปกครองศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และนักบริหารองค์การระดับต้น เป็นต้น
- องค์การมหาชน นักบริหารหรือเจ้าหน้าที่ระดับต่างๆในองค์กรมหาชน เช่น นักบริหารองค์การระดับต้น ผู้บริหารโครงการ ผู้ประสานงานโครงการ เป็นต้น